น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่อยู่คั่นกลางระหว่างผิวของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนโลหะ ช่วยลดการเสียดสีและการสึกหรอของวัตถุโลหะ ขณะที่มีการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาสตาร์ทรถ การเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์นับเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้รถต้องเอาใจใส่ เพราะนอกจากจะให้เครื่องยนต์ทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้วยังสามารถช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ให้อยู่กับเราไปได้นานอีกด้วย เรามาดูกันว่าถ้าเลือกความหนืดผิดอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
น้ำมันเครื่องต้องเลือกอย่างไรให้เหมาะสม
ความหนืดของน้ำมันเครื่อง แนะนำให้เลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำสุดที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ใช้รถ ซึ่งจะช่วยให้รถยนต์สตาร์ทติดง่าย ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และอัตราเร่งดีเยี่ยมกว่าน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง สำหรับเกรดมาตรฐานของน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะมีหลายเกรดมาตรฐาน เช่น API, ACEA, ILSAC หรือมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อกำหนดขึ้นเพื่อให้เหมาะกับเครื่องยนต์รุ่นนั้น
ประเภทของน้ำมันเครื่อง สำหรับผู้ที่ต้องการน้ำมันเครื่องที่ให้การปกป้องเครื่องยนต์อย่างดีเยี่ยมเพื่อสมรรถนะของเครื่องยนต์สูงสุด ควรใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์คุณภาพสูงที่ออกแบบเพื่อให้มีการคงคุณสมบัติของน้ำมันที่ดีเยี่ยมตลอดการใช้งานกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์หรือน้ำมัน
เกรดความหนืดของน้ำมันเครื่องดูอย่างไร
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ไม่ใช่ว่าจะใช้แบบไหนก็ได้ ถ้าเติมไม่ตรงสเป็คล่ะก็มีโอกาสพังได้สูง เพราะบางทีถ้าเติมตามอารมหรือของที่หาซื้อได้ราคาถูกโดยไม่คำนึงถึงค่าหนืดของน้ำมันเครื่องบอกได้เลยว่าเครื่องพังก่อนอายุไขแน่นอน เพื่อป้อกกันความผิดพลาดและต้องการให้เครื่องยนต์อยู่กับเราไปนานๆ ก็ต้องมาทำความรู้จักกับความหนืดของน้ำมันเครื่องเสียก่อน
ความหนืดของน้้ามันเครื่องจะเกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นเคลือบและการไหลเวียนของน้้ามันเครื่องซึ่งเกรดความหนืดคืออัตราการไหลของปริมาณต่อขนาดและความยาวของรู ต่อหน่วยเวลา ณ อุณหภูมิหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น น้้ามัน60 ซี.ซี ไหลผ่านรูขนาด12.25 มิลลิเมตร ณ อุณหภูมิ100 องศาเซลเซียส ส่วนหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในการวัดเกรดความหนืดก็คือ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์หรือSAE (SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS)โดยเกรดความหนืดของน้้ามันเครื่องจะแสดงเป็นเป็นอักษรย่อSAEแล้วตามด้วยเกรดความหนืดเป็นตัวเลขเช่น5, 10, 15, 30, 40และ50 เป็นต้น
โดยตัวเลขยิ่งมาก ความหนืดก็จะสูงตามไปด้วยเช่นSAE 10W-50จะมีความหนืดมากกว่าSAE 5W-40 ซึ่ง
การวัดเกรดความหนืดจะแบ่งเป็นการวัดที่2อุณหภูมิที่แตกต่างกัน
1.วัดที่อุณหภูมิ -18องศาเซลเซียส ซึ่งตัวเลขเกรดความหนืดจะตามด้วยอักษรW
(WINTER) เช่น5W, 10W
2.วัดที่อุณหภูมิ100องศาเซลเซียส ซึ่งตัวเลขเกรดความหนืดจะเป็นตัวเลขอย่างเดียวเช่น30, 40, 50
น้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ น้ำมันเครื่องชนิดธรรมดา น้ำมันเครื่องชนิดกึ่งสังเคราะห์และน้้ามันเครื่องสังเคราะห์
โดยแต่ละชนิดก็จะมีระยะเวลาการใช้งานต่างกัน
- น้้ามันเครื่องชนิดธรรมดา ประมาณ4000กิโลเมตร
- น้้ามันเครื่องชนิดกึ่งสังเคราะห์ ประมาณ6000กิโลเมตร
- น้้ามันเครื่องสังเคราะห์ ประมาณ10000กิโลเมตร
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องอยู่หลายยี่ห้อ ทั้งยังมีเกรดและประเภทของน้ำมันเครื่องอีกมากมาย การเลือกใช้น้ำมันเครื่องวิธีง่ายที่สุดคือค้นหาจากคู่มือผู้ใช้รถซึ่งจะระบุเกรดของน้ำมันเครื่องและมาตรฐานที่เหมาะสมกับรถยนต์รุ่นนั้นๆ และเลือกน้ำมันเครื่องที่มีเกรดตรงตามที่กำหนด โดยดูได้จากฉลากข้างแกลลอนน้ำมันเครื่อง