การปรับปรุงทางเทคนิค เพื่อยกระดับสมรรถนะให้ดียิ่งขึ้น

ปอร์เช่ 911 จีที3 ใหม่ (The new Porsche 911 GT3) เสริมอุปกรณ์ทางเทคนิคที่โดดเด่นในขั้นตอนการพัฒนา ทีมงานวิศวกรปักธงไว้ที่จุดประสงค์หลักหนึ่งเดียวคือ ยกระดับขีดความสามารถด้านสมรรถนะของยนตรกรรมสปอร์ตพลังแรง โดยไม่ลดทอนอรรถประโยชน์ความสะดวกสบายในการใช้งานประจำวันลงแม้แต่น้อย การประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างบรรดาช่างเทคนิคจากสายการผลิตปกติและเหล่าบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากแผนกมอเตอร์สปอร์ต เพื่อภารกิจสุดยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยความสำคัญนี้โดยเฉพาะ “เรามีทีมงานวิศวกรชุดเดียวกับที่พัฒนารถแข่งสายสนามเข้ามาร่วมออกแบบยนตรกรรม จีที (GT) คันใหม่สำหรับใช้บนถนนสาธารณะส่งผลให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วราวกับจินตนาการ” Andreas Preuninger ผู้อำนวยการส่วนงาน GT Model Line กล่าว

การปรับแต่งด้วยอุโมงค์ลมนานกว่า 160 ชั่วโมง

กระบวนการทางเทคนิค ในส่วนของอากาศพลศาสตร์คือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด นับเป็นครั้งแรกที่ปีกหลังแบบลอยตัว หรือ suspended rear wing ได้รับการติดตั้งลงในรถสปอร์ตปอร์เช่จากสายการผลิตปกติ จุดยึดแบบ swan-neck มีลักษณะเดียวกันกับที่ใช้ในรถแข่ง จีที (GT) ปอร์เช่ 911 อาร์เอสอาร์ (Porsche 911 RSR) และรถแข่ง one-make cup ปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (Porsche 911 GT3 Cup) ขาแขวนแบร็คเก็ตอะลูมิเนียมทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่รองรับชิ้นส่วนปีกดังกล่าวจากด้านบน กระแสอากาศสามารถเคลื่อนที่ผ่านทางด้านล่างโดยไม่ถูกกีดขวางซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลในด้านอากาศพลศาสตร์อย่างมาก งานออกแบบใหม่ช่วยลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็นและนอกจากจะเป็นการเพิ่มแรงกดท้ายรถให้มากขึ้นแล้วยังมีผลต่อเสถียรภาพของระบบรองรับหลังโดยเป็นการทำงานร่วมกับการปรับแต่งอื่นๆ อย่างละเอียด “เราพัฒนาด้านอากาศพลศาสตร์ของปอร์เช่ 911 จีที3 ใหม่ (The new Porsche 911 GT3) ผ่านแบบจำลองมากกว่า 700 รูปแบบ ใช้เวลามากกว่า 160 ชั่วโมง เพื่อปรับตั้งตัวรถอย่างประณีตภายในอุโมงค์ลม” ข้างต้นคือคำอธิบายจากวิศวกรอากาศพลศาตร์ Mathias Roll มุมปะทะอากาศของปีกหลังตัวใหม่ สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ถึง 4 ระดับสอดคล้องกับการทำงานของดิฟฟิวเซอร์หน้าซึ่งปรับได้ 4 ระดับเช่นเดียวกัน “ปอร์เช่ 911 จีที3 ใหม่ (The new Porsche 911 GT3) สร้างแรงกดได้มากกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อันเป็นผลจากการปรับแต่งอุปกรณ์ภายนอกตัวรถเท่านั้น ในกรณีที่ต้องการแรงกดสูงสุด สามารถปรับตั้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์” Roll เสริม  เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่รถแข่งสายสนามต้องเผชิญดุลยภาพด้านอากาศพลศาสตร์ของปอร์เช่ 911 จีที3 ใหม่ (The new Porsche 911 GT3) สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพเส้นทางในแต่ละสนามและรูปแบบการขับขี่ได้โดยอิสระ “ไม่เพียงชิ้นส่วนตัวถังต่างๆ  จะคล้ายคลึงอย่างมากกับอุปกรณ์ที่ใช้ในรถแข่งเท่านั้น ขั้นตอนและวิธีการในการพัฒนาก็ยังถอดแบบกันมาอีกด้วย” วิศวกรอากาศพลศาสตร์อธิบายเพิ่มเติม “ภายในอุโมงค์ลมสุดล้ำสมัยของเราที่ Weissach ไม่ได้จำลองเฉพาะทิศทางที่รถวิ่งตรงไปข้างหน้าเท่านั้น แต่เรายังทำการทดสอบทุกสถานการณ์ในการขับขี่ที่อาจจะเป็นไปได้ทั้งหมด เราจับรถม้วนตัว โยนไปมา และเขย่าซ้ายขวา เพื่อจำลองทุกสภาพที่ต้องพบเจอระหว่างขับขี่บนสนามแข่ง”

ขุมพลังเครื่องยนต์รอบจัด High-revving DNA จากสนามความเร็ว

ขั้นตอนการทดสอบระหว่างการพัฒนาเครื่องยนต์ความจุ 4 ลิตร ไร้ระบบอัดอากาศที่ให้รอบการทำงานสูงในรูปแบบ high-revving เป็นภารกิจที่จำเป็นต้องใช้เวลามากยิ่งขึ้น “ในภาพรวมเครื่องยนต์ของปอร์เช่ 911 จีที3 ใหม่ (The new Porsche 911 GT3) มีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 22,000 ชั่วโมงบนแท่นทดสอบ ในขณะนั้นเราจำลองสถานการณ์การขับขี่ที่ต้องใช้ในสนามแข่งและเร่งเครื่องยนต์จนเต็มกำลังแทบจะตลอดเวลาที่ทดสอบ” ข้างต้นคือความเห็นจาก Thomas Mader ผู้จัดการโครงการ GT Road Car Engines เครื่องยนต์ตอบสนองอย่างฉับไวทันทีที่เหยียบคันเร่ง ด้วยพื้นฐานจากขุมพลังของรถแข่ง 911 จีที3 อาร์  (911 GT3 R) รถแข่ง 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) พกพาพละกำลังติดตัว 510 แรงม้า (375 กิโลวัตต์) มากกว่า จีที3 (GT3) รุ่นก่อนหน้า 10 แรงม้า กำลังสูงสุดจะออกมาในรอบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ 8,400 รอบต่อนาทีและระบบจำกัดรอบอิเล็กทรอนิกส์จะยอมให้ลากรอบต่อไปจนตัดการทำงานที่ 9,000 รอบต่อนาที ในส่วนของแรงบิดสูงสุดเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้าจาก 460 เป็น 470 นิวตันเมตร

เช่นเดียวกับรถแข่งในวงการมอเตอร์สปอร์ต การทำงานอันแม่นยำและเที่ยงตรงของวาล์วที่รอบเครื่องยนต์สูง เกิดขึ้นจากระบบกระเดื่องกดวาล์ว rocker arms ที่แข็งแกร่ง เทคโนโลยีวาล์วแปรผัน VarioCam ที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถควบคุมการทำงานของเพลาลูกเบี้ยวให้ตอบสนองต่อรอบการทำงาน และรับภาระเครื่องยนต์ แบริ่งเพลาข้อเหวี่ยงขยายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแบริ่งก้านสูบกว้างขึ้นและผนังกระบอกสูบเคลือบสารพลาสมาเพื่อลดการสูญเสียกำลังรวมทั้งลดการสึกหรอจากแรงเสียดทานที่ต่ำลง “ระบบลิ้นปีกผีเสื้อแยกอิสระซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากรถแข่งให้การตอบสนองที่รวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น” Mader ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องยนต์กล่าวเสริม

อัตราเร่งที่รวดเร็วทั้งในแนวตั้งชันและแนวราบที่ปอร์เช่ 911 จีที3 ใหม่ (The new Porsche 911 GT3) ทำได้บนสนามแข่ง หมายความว่าน้ำมันเครื่องรอบจัดเช่นนี้ที่ต้องจ่ายให้เครื่องยนต์รอบจัดเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เช่นเดียวกับรถแข่งที่มีการหล่อลื่นเครื่องยนต์รับหน้าที่ด้วยระบบ dry-sump ซึ่งมีอ่างน้ำมันเครื่องแยกด้วยการทำงานของจังหวะดูดน้ำมันเครื่องรวมทั้งสิ้น 7 ขั้นตอนส่งผลให้น้ำมันเครื่องถูกส่งกลับไปยังอ่างอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการหล่อลื่นก้านสูบที่จำเป็นต้องรับภาระอย่างหนักนั้น เป็นหน้าที่ของปั้มน้ำมันเครื่องส่งต่อจากเพลาข้อเหวี่ยงโดยตรง “เครื่องยนต์ที่ประจำการอยู่ในรถแข่งปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) นั้นมีอุปกรณ์ที่แตกต่างจากเครื่องยนต์บล็อกนี้แค่ 2 อย่างนั่นคือระบบระบายไอเสียและกล่องสมองกลควบคุมเครื่องยนต์ นอกจากนั้นเหมือนกันแทบทุกประการ” Mader ย้ำ

เครื่องยนต์ของปอร์เช่ 911 จีที3 (Porsche 911 GT3) แสดงศักยภาพของมันออกมาได้อย่างเต็มที่ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานวิศวกรและนักทดสอบฝีมือดี “เราทำการทดสอบด้านมลภาวะถึง 600 รูปแบบ ในระหว่างกระบวนการพัฒนา เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องยนต์บล็อกนี้จะผ่านมาตรฐานข้อกำหนดอันเข้มงวด” Thomas Mader กล่าว มาตรฐานไอเสียที่เคร่งครัดถูกบังคับใช้ในเชิงของความทนทานอีกด้วยมันต้องทำงานได้อย่างไร้ที่ติ ด้วยความต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะทางมากกว่า 5,000 กิโลเมตร บนสนามรูปวงรีที่ Nardo ประเทศอิตาลี ขณะที่ทำความเร็วคงที่ที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและหยุดพักเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเท่านั้น

 

Tagged:

admin24

admin24

RELATED ARTICLES